บริการโลจิสติกส์มีกี่ประเภท และ แตกต่างกันอย่างไร
5 ประเภทการบริการโลจิสติกส์ที่พบบ่อยในปัจจุบัน
ปัจจุบันโลกของการค้านั้นได้ถูกเชื่อมกันด้วยบริการโลจิสติกส์ที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมให้การค้าทุกประเภทเหมือนอยู่ใกล้ชิดกัน โลจิสติกส์คือกระบวนการ ทำงานตั้งแต่ สั่งซื้อสินค้า รับสินค้า ตรวจเช็คสินค้า บรรจุสินค้า รวบรวม และ คลังสินค้า ส่งออกสินค้า จนกระทั่งสินค้าถึงปลายทางอย่างปลอดภัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด จะต้องอาศัยการทำงานของทุก ๆ ส่วน โดยที่มีส่วนร่วมมากกว่าการขนส่งสินค้า ซึ่งนี่คือความต่างระหว่าง ธุรกิจโลจิสติกส์ และ ธุรกิจขนส่งทั่วไป ซึ่งปัจจุบันบริการโลจิสติกส์ที่พบได้บ่อยนั้น มีด้วยกัน 5ประเภท ที่ได้พบเจอมากที่สุดในทุกวันนี้ ดังนั้นเราจะมาอธิบายความแตกต่างกันของแต่ละประเภทโลจิสติกส์กัน
5 ประเภทบริการโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง และข้อแตกต่าง
- 1PL ( First Party Logistics)
1PL หมายถึง ธุรกิจที่บริหารการจัดการการขนส่งด้วยตนเอง เช่น ผู้ขาย หรือผู้ผลิตสินค้าเป็นผู้จัดเก็บสินค้า และขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ไม่ต้องพึ่งพาการทำงานโลจิสติกส์ของผู้อื่น โดยองค์กรที่สามารถทำเช่นนี้ได้ จะต้องมีระบบการจัดการในการทำธุรกิจที่ดีและแข็งแรงมากพออีกด้วย
ข้อดีของ 1PL คือ บริษัทสามารถควบคุมกระบวนการโลจิสติกส์ทั้งหมดได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถปรับแต่งการให้บริการให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถลดต้นทุนในระยะยาวได้ เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่สาม - 2PL (Second Party Logistics)
PL หมายถึง ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอากาศ (air freight) ทางน้ำ (เรือบรรทุกสินค้า) ทางบก (รถบรรทุก) หรือ ทางรถไฟ ในการขนส่งสินค้าจากจุดต้นทางไปยังปลายทาง หรือ จุดกระจายสินค้า อย่างที่เราเห็นบริษัทขนส่งทางเครื่องบินกันบ่อย ๆ คือ FedEx DHL UPS เป็นต้น โดยมีหน้าที่ทำการขนส่งสินค้าจากจุดต้นทางไปยังปลายทาง หรือ จุดกระจายสินค้า เพราะในปัจจุบันแล้วการทำกิจกรรมโลจิสติกส์ด้วยตนเอง(1PL) ตลอดกระบวนการนั้นเป็นเรื่องที่ยาก จึงนิยมใช้บริการขนส่งกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยเฉพาะกันข้อดีของ 2PL คือ บริษัทสามารถลดต้นทุนในการจัดการโลจิสติกส์ได้ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนในทรัพยากรและไม่ต้องจ้างพนักงานเพื่อจัดการกระบวนการโลจิสติกส์ด้วยตนเอง นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถมุ่งเน้นไปที่การดำเนินธุรกิจหลักของตนเองได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรไปกับการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์
- 3PL (Third Party Logistics)
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบเบ็ดเสร็จ 3PL หมายถึง เป็นผู้ให้บริการงานที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ ซึ่งการให้บริการต้องอาศัยทักษะ และเครือข่ายธุรกิจในระดับโลก มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการทั้งหมด หรือบางส่วนของกิจกรรมโลจิสติกส์ เช่น บริการด้านการขนส่ง ด้านคลังสินค้า การกระจายสินค้า บริการด้านการเงิน ด้านเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการเชื่อมโยง และรับช่วงต่อการขนส่งในแต่ละรูปแบบของการขนส่งสินค้าจากต้นทางจนถึงจุดหมายปลายทาง โดยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งหากอธิบายในงานขนส่ง ได้แก่ Shipping หรือ Freight Forwarder ต่าง ๆ ที่ช่วยดูแลให้การขนส่งสินค้าทั้งการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงการดูแลเรื่องเอกสาร และเดินพิธีการศุลกากร ให้สินค้าถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย
ข้อดีของ 3PL คือ บริษัทสามารถลดต้นทุนในการจัดการโลจิสติกส์ได้ เพราะไม่ต้องลงทุนในทรัพยากรและไม่จ้างพนักงานเพื่อจัดการกระบวนการโลจิสติกส์ด้วยตนเอง
- 4PL (Fourth Party Logistics)
4PL เป็นผู้ให้บริการบริหารจัดการ และ ประสานงาน ให้บริการโลจิสติกส์ในระดับที่มีการบูรณาการสูงมาก เป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการ ควบคุมผู้ให้บริการ 3PL ในแต่ละรายให้สามารถเชื่อมโยงการทํางาน โดยมีการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้คำปรึกษาการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการจัดการภายในห่วงโซ่อุปทานข้อดีของ 4PL คือ บริษัทสามารถมุ่งเน้นไปที่การดำเนินธุรกิจหลักของตนเองได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรไปกับการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์ที่ซับซ้อน นอกจากนี้ 4PL ยังช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนในการจัดการโลจิสติกส์ได้
- 5PL (Fifth Party Logistics)
5PL หมายถึง ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ห้า ทำหน้าที่เป็นผู้วางแผน เป็นผู้รวบรวม จัดหา บริหารความมีส่วนร่วมให้แก่ลูกค้าในทุก ๆ PL ช่วยบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ผ่านระบบ E-Commerce e-Business platform หรือนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ระบบเกิดความยืดหยุ่น และ คุ้มค่าสูงสุดสามารถ นำไปสู่กลยุทธ์การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองผู้ใช้บริการด้านโลจิสติกส์ได้อย่างครบวงจรข้อดีของ 5PL คือ บริษัทสามารถมุ่งเน้นไปที่การดำเนินธุรกิจหลักได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรไปกับการจัดการซัพพลายเชน นอกจากนี้ 5PL ยังช่วยให้บริษัทลดต้นทุนในการจัดการซัพพลายเชนได้ เนื่องจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ห้าสามารถประสานงานกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ประเภทต่างๆ และซัพพลายเออร์ทั้งหมดของบริษัท เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด
จะเห็นได้ว่าการบริการระบบขนส่งโลจิสติกส์นั้นมีด้วยกันหลายหลายประเภท ซึ่งล้วนต้องอาศัยผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ช่วยให้การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์เป็นไปได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งหากนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า ที่เข้ามาศึกษา และ ต้องการผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ดี มีบริการส่งออก-นำเข้าสินค้าด้านโลจิสติกส์ที่ครบวงจร
เราขอแนะนำ บริษัท โรเจอร์ กรุงเทพ จำกัด ซึ่งมีระบบขนส่งโลจิสติกส์ที่มีมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย ทั้งในและต่างประเทศ จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าของท่านจะถูกส่งมอบให้กับผู้รับได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ปลอดภัย อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจสามารถขอคำแนะนำกับทางเราได้ตลอดเวลา มีทีมงานคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้กับลูกค้าได้อย่างทันที เราจึงมั่นใจว่าจะบริการทุกธุรกิจได้อย่างราบรื่น
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
INTERNATIONAL LOGISTICS SERVICES
Tel : +66 (0) 2 180 0280
E-mail: infoth@rogers-asia.com