freight forwarder thailand

ความแตกต่างของ freight forwarder และ shipping services

ไขข้อสงสัยFreight forwarder และ shipping services เหมือนกันหรือไม่

ปัจจุบันการค้าต่างประเทศนั้นมีความหลากหลาย และ นิยมกันมากขึ้นซึ่งมีรายละเอียดต่างๆในการจัดส่งสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศที่จะทำการจัดส่ง และ รูปแบบในการขนส่งสินค้า ซึ่งมีความซับซ้อน และ ยากลำบากมากกว่าการขนส่งภายในประเทศ ยิ่งการขนส่งสินค้าทางเรือ และ การขนส่งสินค้าทางรถบรรทุก ยิ่งต้องมีเรื่องของเอกสารเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งทางที่ดีสำหรับผู้ส่งสินค้าเองควรที่จะอาศัยตัวแทน หรือ ตัวกลาง เพื่อทำให้การดำเนินงานเรื่องของการขนส่งสินค้า รวมไปถึงเรื่องการประสานงาน การจัดทำ และ เดินเอกสาร ให้เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นดังนั้นจึงเกิด Freight Forwarder และ Shipping Service ซึ่งเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า แต่มีความแตกต่างกันในด้านหน้าที่ และ การให้บริการ ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาอธิบายความแตกต่างกันของ freight forwarder และ shipping services กัน

บทบาทที่แตกต่างกันระหว่าง Freight forwarder และ shipping services

  1. Freight Forwarder (ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า)
    ทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะบริการของ Freight Forwarder ก่อนโดย freight forwarder นั้นเป็นผู้จัดการ และ ประสานงานการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยรวมทั้งหมด ตั้งแต่การจัดหาวิธีการขนส่ง (ไม่ว่าจะเป็นทางบก, ทะเล, หรือ อากาศ) รวมถึงการดำเนินการด้านเอกสารศุลกากร การประกันภัยสินค้า และ การจัดการด้านการขนส่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยมีหน้าที่หลักซึ่ง Freight Forwarder จะทำหน้าที่เป็นคนกลางในการจัดการขนส่งสินค้า โดยติดต่อ และ ประสานงานกับผู้ให้บริการขนส่งต่าง ๆ เช่น สายการบิน, สายเรือ, รถบรรทุก หรือ รถไฟ เพื่อขนส่งสินค้าไปยังปลายทาง อีกทั้งยังการให้บริการที่ครอบคลุมของ Freight Forwarder มักให้บริการครบวงจร ตั้งแต่การบรรจุ, การจัดทำเอกสารการขนส่ง, การดำเนินการศุลกากร, และ การประกันภัยสินค้า ซึ่งเหมาะสำหรับบริษัท หรือ บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการขนส่งที่ซับซ้อนมากกว่ารวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ แต่จะไม่มีเรือ และ ตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง
  2. Shipping Service (ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า)
    โดยลักษณะบริการของ Shipping Service นั้นคือ ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น การขนส่งทางทะเล, ทางอากาศ, หรือ ทางบก ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งออก และ ผู้นำเข้าระหว่างการเดินเรือ และ สายการบิน โดยมีเรือเดินทะเล และ ตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง อีกทั้งเป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้ส่งออกสินค้า หรือ ผู้นำเข้าสินค้าว่ามีรายละเอียดอะไรบ้างในการนำเข้า-ส่งออก สินค้าที่ต้องการส่งออก-นำเข้า มีจำนวนเท่าไหร่ และ ดำเนินการไปรับสินค้าจากโกดังของลูกค้าแล้วนำมาเก็บเข้าตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อทำการขนส่งไปยังท่าเรือ หรือ สายการบิน นอกจากนี้ จะมีการจัดการเอกสารนำเข้า-ส่งออกทั้งหมด ใบขนส่งสินค้าสำหรับให้ด่านศุลกากร ในบางกรณีเอกสารของบริษัทขนส่งที่ลูกค้าเลือกใช้บริการ ผู้ใช้บริการอาจต้องจัดการเอกสาร และ ขั้นตอนทางศุลกากรด้วยตัวเอง ทางShipping มีหน้าที่ประสานงานกับผู้ส่งออก และ ผู้นำเข้าเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้า จัดทำเอกสารที่สำคัญในการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ใบขนส่งสินค้าสำหรับให้ด่านศุลกากร การดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้า-ขาออก ซึ่งจะมีเรือ และ ตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง และ มีลูกค้ารายใหญ่เป็นส่วนมาก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ Shipping ตัวแทนส่งออกสินค้าทั่วไป และ Shipping AEO ตัวแทนส่งออกสินค้ามาตรฐาน เออีโอ (ตัวแทนได้รับการรับรองด้านความปลอดภัย) นั้นเอง

สรุปความแตกต่างของ Freight forwarder และ shipping services

จากที่กล่าวมาข้างต้นหน้าที่การทำงานของ Freight Forwarder และ Shipping คือการเป็นตัวกลาง หรือ ตัวแทนในการดำเนินการต่างๆ ให้สามารถส่งออก-นำเข้าได้ง่าย และ สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความใกล้เคียงกันมากๆ แต่จะมีบางรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้สามารถแยกความแตกต่างได้ง่ายๆโดย Freight Forwarder ให้บริการแบบครบวงจรในด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการจัดการด้านเอกสาร การประสานงาน และ บริการเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งค่าใช้จ่ายของ Freight Forward มักจะสูงกว่า ซึ่ง Freight Forwarder ไม่มีเรือเดินทะเล หรือ ตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง ต้องเช่าเพื่อให้บริการเท่านั้น อีกทั้งมักจะเป็นลูกค้ารายเล็กๆสะมากกว่าแต่ Shipping Service จะมีเรือเดินทะเล และ ตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ต่ำกว่า และ มีการประสานงานการนำเข้า ส่งออกสินค้าด้วยการไปรับสินค้าถึงโกดังลูกค้าพร้อมนำมาเก็บเข้าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อขนส่งไปท่าเรือ รวมถึงมีการจัดการเอกสารทั้งหมดอีกด้วย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการดำเนินการของทั้งสองบริการนั้นแตกต่างกันโดย freight forwarder นั้นอาจจะเหมาะกับลูกค้ารายย่อย แต่ Shipping service นั้นเหมาะกับการมีสินค้าจำนวนมากๆ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นบริการของ Freight Forwarder หรือ Shipping ก็นับว่าเป็นตัวช่วยที่ดี สำหรับผู้ประกอบการเป็นอย่างมากเมื่อต้องส่งออก-นำเข้าสินค้า เนื่องจากช่วยลดต้นทุนสำหรับการเช่าหรือซื้อตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง และยังไม่จำเป็นต้องดำเนินการด้วยตัวเองนั้นเอง หากสนใจในบริการขนส่งระหว่างประเทศนั้นเราขอแนะนำ บริษัท โรเจอร์ กรุงเทพ จำกัด ซึ่งมีระบบการขนส่งสินค้าระหว่างทางทั้ง แบบ freight forwarder และ อื่นๆ ซึ่งดำเนินงานได้อย่างมืออาชีพ อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และ ประสบการณ์ ในการขนส่งสินค้าทุกชนิดโดยเฉพาะ อีกทั้งยังมี ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ทางด้านการขนส่งต่างๆ ได้หลากหลายประเภท สามารถขอคำแนะนำกับทางเราได้ตลอดเวลา ทางเรามีทีมงานคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้กับลูกค้าได้อย่างทันที เราจึงมั่นใจว่าจะบริการทุกธุรกิจได้อย่างราบรื่นนั้นเอง

ติดต่อสอบถาม

INTERNATIONAL LOGISTICS SERVICES
Tel : +66 (0) 2 180 0280
Mobile : 06-4181-1587
Email : infoth@rogers-asia.com

INTERNATIONAL RELOCATION
Tel: +66 (0) 2 752 6417
Mobile : 081-259-5333 , 065-820-4808
Email : exhibitions@rogers-asia.com