Shipping services กับการบริการพิธีการศุลกากร
Shipping services ผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาพิธีการศุลกากร
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ได้กลับมาหายใจได้อีกครั้งหลังจากที่ต้องหยุดชะงักไป การค้าและเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มฟื้นตัว ประเทศที่คนไทยนิยมสั่งสินค้ามาขาย ยังคงเป็นประเทศจีน เนื่องจากต้นทุนสินค้าราคาถูกนำมาขายมักจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่การจะนำสินค้าเข้าประเทศ หรือแม้กระทั่งส่งสินค้าออกนอกประเทศ ต้องรู้อะไรบ้าง พิธีการทางศุลการกรคืออะไร วันนี้ บริษัท โรเจอร์ กรุงเทพ จำกัด มีคำตอบให้ในบทความนี้
ว่าด้วยเรื่องการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขาย ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา ฯลฯ ต่างต้องมีขั้นตอนและเอกสารต่างๆ มากมาย ถ้าไม่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก ดูแล้วน่าจะลำบากหน่อยเพราะกว่าจะนำสินค้าเข้ามาขายหรือส่งออกได้ บริการด้านขนส่งระหว่างประเทศหรือพวกบริษัท Shipping services จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อให้การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าเป็นไปได้โดยราบรื่น และเจ้าของธุรกิจเองไม่ต้องไปวุ่นวายจัดการเรื่องเอกสารสำหรับด่านศุลกากร
คนที่มีความสนใจอยากนำสินค้าเข้ามาขาย เพราะเห็นว่าต้นทุนสินค้าแต่ละชิ้นถูก สามารถนำมาบวกราคาขายต่อยอดทำกำไรให้ได้แน่นอน ที่สำคัญคือสินค้าที่นำเข้ามานั้น บางรุ่นไม่มีขายในเมืองไทย ทำให้มันกลายเป็นของหายาก หรือ ลิมิเตด (Limited) ของน่าซื้อสำหรับนักช้อปทั้งหลาย แต่การจะนำสินค้าเหล่านี้เข้ามาขายได้นั้น ต้องทำอย่างไรและต้องรู้อะไรบ้าง
อยากสั่งของจากต่างประเทศเข้ามาขายต้องทำอย่างไร
- ขายอะไร – สิ่งแรกที่ต้องคิดให้ได้ก่อนคือ อยากขายอะไร เพราะสินค้าแต่ละชนิดมีกลุ่มลูกค้าไม่เหมือนกันและวิธีทำการตลาดก็ไม่เหมือนกัน
- สำรวจราคาตลาด – สินค้าที่เราจะนำมาขายนั้น ราคาในตลาดเขาขายกันอยู่เท่าไหร่ เราจะได้เลือกเจ้าที่เราจะสามารถทำกำไรแข่งกับเจ้าอื่นๆ ในตลาดได้
- ขายที่ไหน – ขายออนไลน์หรือออฟไลน์ สินค้าบางชนิดเหมาะกับการขายออนไลน์ และบางชนิดจำเป็นต้องมีหน้าร้านเพื่อให้ลูกค้าได้มาลอง มาดูสินค้าจริงก่อนการตัดสินใจซื้อ
- นำเข้าจากไหน – ประเทศที่คนส่วนใหญ่นิยมนำสินค้าเข้ามาขายคือประเทศจีน สินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่เน้นคุณภาพ มาเร็วไปเร็วอย่างเช่น พวกเสื้อผ้าแฟชั่น เน้นราคาต้นทุนต่ำและสามารถสั่งเข้ามาได้ทีละมากๆ
- ต้นทุนในการนำเข้า – นอกจากเราต้องดูต้นทุนสินค้าแล้ว ต้องไม่ลืมว่าขั้นตอนการนำสินค้าเข้ามานั้น ค่าศุลกากร ค่า Shipping services ค่าภาษี ฯลฯ
ขออธิบายเรื่องข้อกำหนดทางด้านศุลกากรคร่าวๆ ให้กับแม่ค้า-พ่อค้า นักธุรกิจหน้าใหม่ที่กำลังจะเริ่มลงทุนทำธุรกิจนำเข้าสินค้าให้เข้าใจถึงเรื่องค่าพิธีการศุลกากร และกระบวนการพิธีการศุลกากรว่ามันมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ค่าพิธีการศุลกากร คืออะไร
ก่อนการส่งออกหรือนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศ ผู้จัดส่งต้องดำเนินการผ่านพิธีการทางศุลกากร มีการชำระอากรและภาษีในการขนส่ง รวมถึงเอกสารทั้งหมด ระหว่างการดำเนินงานด้านศุลกากร หากมีปัญหาเรื่องเอกสารจัดส่ง ศุลกากรจะยึดสินค้าเอาไว้ก่อนจนกว่าจะนำเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์มาให้และชำระภาษีถูกต้อง ศุลกากรจึงจะปล่อยสินค้าคืนกลับไปให้
กระบวนการผ่านพิธีการทางศุลกากร โดย Shipping services
ผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีการทางศุลกากรมีความสำคัญต่อการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าของธุรกิจทั่วโลก การส่งของข้ามพรมแดนมีขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้
- การตรวจสอบเอกสาร
ขั้นตอนแรกจะเป็นการตรวจเอกสารทั้งหมด เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้ถูกโอนผ่านธนาคาร ใบเรียกเก็บเงินการจัดส่งมีป้ายกำกับการจัดส่งถูกต้อง รวมถึงใบกำกับสินค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พร้อมทั้งเอกสารทั้งหมด และมูลค่าของสินค้าที่ถูกต้อง เมื่อตรวจสอบเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว สินค้าจะถูกระบุข้อมูลช่องทางการติดต่อของผู้ส่ง และช่องทางในการรับสินค้าของผู้รับที่แสดงไว้ที่หน้าซองเอกสาร ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ - การตรวจโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร
ขั้นตอนนี้ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะตรวจสอบอากรและภาษีที่เรียกเก็บจากของที่ต้องจัดส่ง โดยจะตรวจสอบเอกสารทั้งหมดว่าเป็นไปตามระเบียบทางศุลกากรของประเทศผู้นำเข้าตามประเภทของสินค้าและมูลค่าของสินค้าหรือไม่ ถ้ามูลค่าของสินค้าอยู่ในกรอบของภาษี เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะตรวจสอบการชำระภาษีอากร ในขั้นตอนนี้ ตัวแทนต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์อยู่พอสมควร นอกจากนี้ งานของตัวแทนผ่านพิธีการศุลกากร ยังมีหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร และดูแลการส่งสินค้าให้เป็นไปโดยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น คนๆ นี้ จะต้องเก่งทั้งเรื่องของการกรอกเอกสาร และเก่งเรื่อง การเจรจากับเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้นไม่มีปัญหา - เงื่อนไขการชำระภาษี
ในขั้นตอนนี้ หากยังไม่ได้ชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียม ทางศุลกากรจะให้ชำระในขั้นตอนนี้ โดยสามารถเลือกรูปแบบการชำระเงินได้สองแบบ
แบบ DDU – DDU ย่อมาจาก Delivery Duty Unpaid
แบบ DDP – DDP ย่อมาจาก Delivered Duty Paid
ทั้งสองแบบนี้ต่างกันกันคือ การจ่ายภาษีขาเข้า ในเงื่อนไข DDP ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบภาษีขาเข้าในประเทศ แต่เงื่อนไข DDU ผู้นำเข้าจะเป็นผู้รับผิดชอบ - การปล่อยสินค้า
เมื่อผ่านขั้นตอนทุกอย่าง รวมถึงการชำระภาษี เอกสารถูกต้องครบถ้วน สินค้าจะถูกส่งออกหรือนำเข้าระหว่างประเทศไปยังจุดหมายปลายทางที่ระบุเอาไว้ในเอกสาร
สรุปได้ว่า ขั้นตอนในพิธีการศุลกากรจึงจำเป็นต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมเอกสารและการเจรจาต่อรองต่างๆ เพราะจะช่วยให้การขนส่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องหยุดชะงักเพราะเอกสารไม่ครบ หรือข้อมูลสำคัญๆ ตกหล่น โดยทั่วไปผู้ที่ทำธุรกิจนำเข้าสินค้ามักจะจ้างบริษัท Shipping services ขนส่งต่างประเทศเก่งๆ มาดำเนินการให้อยู่แล้ว เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการขนส่ง บริษัทขนส่งโลจิสติกส์เหล่านี้ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีการศุลกากร
อย่างบริษัท โรเจอร์ กรุงเทพ จำกัด ผู้ให้บริการด้านการขนส่งระหว่างประเทศ Air Freight Shipping Service Shipping services ขนย้ายเครื่องจักรอุตสาหกรรม และบริการด้านพิธีการศุลกากร ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการขนส่งและดำเนินเรื่องเอกสาร
ประสบการณ์เกือบ 15 ปีในการบริการขนส่ง Logistics เราได้เปรียบตรงที่พนักงานมีความพร้อม พนักงานของเราผ่านการอบรมทักษะสำคัญต่างๆ ทั้งการใช้อุปกรณ์ การขนย้ายเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ และเรายังได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งเรื่องคุณภาพการทำงานและราคาที่ลูกค้าทุกท่านพอใจ
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการโลจิสติกส์สามารถโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 02-752-6417 หรือสามารถดูรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ www.rogers-thailand.com
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
INTERNATIONAL LOGISTICS SERVICES
Tel : +66 (0) 2 180 0280
E-mail: infoth@rogers-asia.com