ขนส่งระหว่างประเทศต้องรู้เรื่อง Freight
ใครรับผิดชอบ ค่าขนส่งระหว่างประเทศ รู้จัก Freight และข้อกำหนดในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ผู้ที่ขายสินค้าไปยังต่างประเทศ เพื่อไปงานแสดงสินค้า (exhibition) หรือขนย้ายเครื่องจักรไปต่างประเทศ
ต้องทำความเข้าใจคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ shipping services และ logistics services เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานกับ บริษัทชิปปิ้ง บริษัทขนส่งต่างประเทศ หรือ freight forwarder thailand รวมถึงใช้ในสัญญาและเอกสารต่างๆ บทความนี้บริษัท โรเจอร์ กรุงเทพ จะมาแนะนำเกี่ยวกับ Freight, Freight Prepaid, Frieght Collect และ ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมถึงวิธีการเลือกเบื้องต้นให้ทราบ
Freight หมายถึง การขนส่งสินค้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหมายถึงการส่งสินค้าโดยรถไฟหรือรถบรรทุก แต่ในปัจจุบัน รวมถึงการขนส่งทางเรือ และ เครื่องบินด้วย
อีกความหมายหนึ่งของคำว่า Freight คือ ค่าระวางสินค้า ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าสินค้าระหว่างประเทศทั้งทางบก (Road Freight) ทางน้ำ (Sea Freight / Ocean Freight) และทางอากาศ (Air Freight)
- Prepaid หรือ Pre-paid เป็นการชำระค่าสินค้าหรือบริการล่วงหน้า
- Collect คือ การเรียกเก็บเงิน หรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ
- Freight Prepaid หรือ Freight paid ค่าระวางจ่ายที่ต้นทาง เป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า หรือจ่ายเงินค่าขนส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางเรือหรือทางอากาศ ณ ประเทศส่งออกสินค้า โดยผู้ส่งสินค้า หรือ Shipper จะเป็นผู้จ่ายค่าบริการ
- Freight Collect หรือ payable at destination ค่าระวางจ่ายที่ปลายทาง เป็นการเรียกเก็บเงินค่าขนส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางเรือหรือทางอากาศ ณ ประเทศนำเข้าสินค้า โดยลูกค้าปลายทาง ผู้รับสินค้าปลายทาง หรือ Considnee/Importer จะเป็นผู้จ่ายค่าบริการ
โดยทั้ง Freight Prepaid และ Freight Collect ล้วนเกี่ยวข้องกับ ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า Incoterms
International Commercial Terms : Incoterms คือ ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ โดยที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย เพื่อให้ทราบว่าแต่ละฝ่ายมีสิ่งใดที่ต้องปฎิบัติต่อกัน Incoterms ได้รับการดูแลและคุ้มครองจาก International Chamber of Commerce : ICC หรือ สภาหอการค้านานาชาติ โดย Incoterms จะมีการแก้ไขปรับปรุงทุกๆ 10 ปี เพื่อให้เข้ากับสภาวการณ์ในปัจจุบัน สำหรับฉบับล่าสุด คือ Incoterms ปี 2020 มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม พ.ศ. 2563
Incoterms จะแสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ จุดส่งมอบสินค้า ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ความเสี่ยงต่างๆ และการรับผิดชอบความเสี่ยงที่เกิดขึ้น การผ่านพิธีการศุลกากร การชำระค่าใช้จ่ายที่ศุลกากร รวมถึงภาษี นอกจากต้องระบุ Incoterms ในสัญญาซื้อขายและสัญญาที่เกี่ยวข้องแล้ว ต้องมีการระบุว่าใช้ Incoterms ของปีใด เช่น Incoterms 2020
Incoterms 2020 มีทั้งหมด 11 ประเภท ได้แก่
- EXW : Ex Works (มีการระบุสถานที่ส่งมอบต่อท้าย) ผู้ส่งออกจะจัดเตรียมสินค้าไว้และมีการส่งมอบสินค้า ณ สถานที่ของผู้ส่งออก ส่วนความรับผิดชอบของผู้นำเข้าเริ่มตั้งแต่การขนสินค้าขึ้นรถ หรือพาหนะต่างๆ รวมถึงการผ่านพิธีการทางศุลกากรทั้งขาออกและขาเข้า
- FCA : Free Carrier (มีการระบุสถานที่ส่งมอบต่อท้าย) ผู้ส่งออกเป็นผู้ดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าไปให้ผู้ทำการขนส่ง (Carrier) รวมถึงการทำศุลกากรขาออก ส่วนความรับผิดชอบของผู้นำเข้าจะเริ่มหลังจากสินค้าถูกวางลงบนรถ ไปจนถึงการทำศุลกากรขาเข้า ในทางปฏิบัติผู้นำเข้าหรือผู้ซื้ออาจจ้าง freight forwarder, freight forwarder Thailand หรือ ตัวแทนผู้รับขนส่งสินค้า เป็นผู้รับสินค้าและส่งมอบอีกทอดหนึ่ง
- FAS : Free Alongside Ship (มีการระบุท่าเรือต้นทาง) รูปแบบนี้จะมีการขนส่งหลักเป็นการขนส่งทางทะเล ผู้ส่งออกหรือผู้ขายมีหน้าที่นำสินค้าไปยังท่าเรือประเทศผู้ส่งออก และจัดการเรื่องศุลกากรขาออก ส่วนผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าจะเป็นฝ่ายนำสินค้าไปวางในเรือ และทำเรื่องศุลกากรขาเข้า
- FOB :Free On Board (มีการระบุท่าเรือต้นทาง) มักใช้กับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่ต้องมีการขนส่งสินค้าทางทะเล จัดเป็นหนึ่งในรูปแบบที่พบได้บ่อย โดยผู้ขายหรือผู้ส่งออกนำสินค้าไปวางบนเรือ และจัดการเรื่องศุลกากรขาออก ด้านผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าเริ่มรับผิดชอบตั้งแต่สินค้าถูกวางบนเรือ และทำเรื่องศุลกากรขาเข้า
- CFR :Cost and Freight (มีการระบุท่าเรือปลายทาง) ผู้ขาย/ผู้ส่งออกต้องรับผิดชอบในการนำสินค้าลงเรือ จ่ายค่าระวางเรือ และจัดการศุลกากรขาออก ส่วนผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าต้องดูแลสินค้าตั้งแต่สินค้าถูกวางลงเรือ จ่ายค่าขนส่งสินค้าตั้งแต่ออกจากเรือ รวมถึงจัดการศุลกากรขาเข้า
- CIF :Cost, Insurance and Freight (มีการระบุท่าเรือปลายทาง) คล้ายคลึงกับรูปแบบ CFR แตกต่างกันเพียงแค่การประกัน โดย ผู้ขายหรือผู้ส่งออกรับหน้าที่จ่ายค่าประกันด้วย
- CPT : Carriage Paid To (มีการระบุสถานที่ปลายทาง) ผู้ขายรับผิดชอบส่งสินค้าให้ Freight Forwarder จ่ายค่าขนส่งสินค้า และจัดการเรื่องศุลกากรขาออก ด้านผู้ซื้อรับผิดชอบตั้งแต่สินค้าอยู่ที่ Freight Forwarder จ่ายค่าขนสินค้าออกจากพาหนะที่ปลายทางและจัดการศุลกากรขาเข้า
- CIP : Carriage and Insurance Paid to (มีการระบุสถานที่ปลายทาง) คล้ายคลึงกับรูปแบบ CPT แตกต่างกันเพียงแค่การประกัน โดย ผู้ขายหรือผู้ส่งออกรับหน้าที่จ่ายค่าประกันด้วย
- DAP : Delivered At Place (มีการระบุสถานที่ปลายทาง) ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ดำเนินการส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางตามที่ผู้ซื้อต้องการ ด้านผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าทำหน้าที่ขนสินค้าออกจากพาหนะ รวมไปถึงรับความเสี่ยงนับตั้งแต่ขนสินค้าออกจากพาหนะ และจัดการเรื่องศุลกากรขาเข้า
- DPU : Delivered at Place Unloaded (มีการระบุสถานที่ปลายทาง) คล้ายคลึงกับรูปแบบ DAP ส่วนที่แตกต่างกัน คือ ผู้ส่งออกหรือผู้ขายรับผิดชอบเรื่องการขนสินค้าออกจากพาหนะด้วย
- DDP : Delivered Duty Paid (มีการระบุสถานที่ปลายทาง) ผู้ส่งออกหรือผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งหมด ได้แก่ ขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางที่ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าต้องการ ค่าระวาง ค่าประกัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมถึงจัดการศุลกากรทั้งขาออกและขาเข้า ผู้ซื้อเพียงมีหน้าที่รับสินค้าจากสถานที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น
การเลือกหรือตัดสินใจว่าจะจ่ายค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าประเภทใด Freight Prepaid หรือ Frieght Collect และมีเงื่อนไขอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับสัญญา หรือการตกลงระหว่างผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ผู้ขายและลูกค้า
Freight Prepaid สามารถเลือกรูปแบบ CIF,CFR, DAP, DDP ผู้ส่งออกสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า
Freight Collect สามารถเลือกรูปแบบ EXW หรือ FOB ผู้นำเข้าต้องการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า
หากคุณซื้อขายสินค้าหรือทำธุรกิจที่มีการนำเข้าส่งออก ต้องการมองหา บริการขนส่งต่างประเทศ การขนย้ายเครื่องจักร air freight, shipping service, freight forwarder thailand, บริษัทชิปปิ้ง บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ นึกถึง Rogers Asia Thailand Logistics Shipping service หรือ บริษัท โรเจอร์ กรุงเทพ จำกัด เราเป็นบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์อย่างครบวงจร มีบริการมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณ เช่น บริการขนส่งเพื่อจัดแสดง สำหรับงานแสดงสินค้า บริการขนส่งระหว่างประเทศ บริการขนย้ายเครื่องจักรและสินค้าอุตสาหกรรม บริการขนย้ายที่พักอาศัยและขนย้ายอุปกรณ์สำนักงาน บริการดำเนินการพิธีการศุลกากร (custom clearance) และบริการให้เช่าพื้นที่คลังสินค้า ด้วยพนักงานระดับมืออาชีพ และการทำงานและดำเนินการมาตรฐานระดับสากล เราได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำมากมาย ในการดูแลเรื่องการขนส่ง มั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัย รวดเร็ว และเปี่ยมคุณภาพ
ผู้ที่สนใจใช้บริการ logistics services และ shipping services
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือขอคำปรึกษาในงานด้านพิธีการศุลกากร หรือต้องการติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ โรเจอร์ กรุงเทพ สามารถติดตามได้ทางช่องทางเหล่านี้
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
INTERNATIONAL LOGISTICS SERVICES
Tel : +66 (0) 2 180 0280
E-mail: infoth@rogers-asia.com